Updates

ทัชมาฮาล อนุสรณ์แห่งรักที่มั่นคง

ณ เมืองอัครา รัฐอุตตรประเทศ ห่างจากเดลลีนครหลวงประมาณ 200 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวที่งดงามและเลื่องลือ ตั้งตระหง่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา มีนามว่า “ทัชมาฮาล” (Taj Mahal) ชื่อนี้ประทับอยู่ในใจทุกผู้คนมาหลายศตวรรษ พระเจ้าชาห์ ชหาน ดำรัสให้สร้างทัชมาฮาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสตรีหนึ่งเดียวในพระทัยของพระองค์ตราบจนสิ้นพระชนน์ “พระนาง มุมตัซ มาฮาล”

ตำนานรักที่จารึกโลกนี้ เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการถือกำเนิดของหญิงงามนามหนึ่งในปี ค.ศ. 1592 เธอมีนามว่า “อรชุมันต์ภานุเบคุม” รักแรกและรักเดียวของเจ้าชายคุราม ที่ต่อมาขึ้นครองราชย์และมีพระนามว่าสมเด็จพระจักรพรรด์ชาห์จาห์ฮาล เจ้าชายคุรามพบนางอรชุมันต์ภานุเบคุมตั้งแต่พระชนมายุเพียง14 หญิงสาวเป็นสตรีสูงศักดิ์ เป็นธิดาของรัฐมนตรี ทรงถูกพระทัยสตรีนางนี้ จนได้ทรงซื้อเพชรประทานให้และอีก 5 ปีต่อมาทั้งคู่ก็เข้าพิธีสยุมพร พระสวามีเรียกนางว่า “มุมตัส มาฮาล” ที่แปลว่า “มงกุฏแห่งพระราชวัง”

ภายหลังเจ้าชายคุรามขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เป็นจักรพรรดิ์องค์ที่5 แห่งราชวงศ์โมกุล พระองค์ทรงมีความสุขกับพระชายาที่รักยิ่งของพระองค์  ว่ากันว่าพระนางมุมตัส มาฮาลทรงรักพระสวามีเป็นอันมาก ตามเสด็จพระเจ้าชาห์กระทั่งในสนามรบ ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและพระธิดามากถึง 14 องค์ ทว่าเวลาแห่งความสุขก็อยู่ได้ไม่นาน 18 ปีให้หลังพระนางมุมตัส มาฮาลได้สิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากทรงมีประสูติกาลพระธิดาคนสุดท้อง และตกพระโลหิตไม่หยุด พระเจ้าชาห์จาห์ฮาลปราบกบฏข่านและรีบกลับมาทันดูใจในชั่วโมงสุดท้ายก่อนพระนางมุมตัส มาฮาล สิ้นพระชนม์  พระนางมุมตัส มาฮาล ได้ขอร้องพระสวามีก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ว่า  หากพระนางสิ้นพระชนม์ลงขอให้สร้างสุสานที่สวยงามให้พระนาง,ขออย่าให้พระสวามีมีพระมเหสีใหม่,ขอให้ทรงมีพระกรุณาต่อเด็กๆ และขอให้เสด็จมาเยี่ยมพระนางที่สุสานทุกปี

พระนางมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 สร้างความเศร้าโศกโทรมนัสใจให้กับพระเจ้าชาห์ ชหานเป็นอย่างยิ่ง พระองค์จึงรับสั่งให้สร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์ ขึ้น โดยประดิษฐานหลุมศพของพระมเหสีอันเป็นที่รักอยู่ภายใน ใช้เวลาสร้างถึง 22 ปี ใช้คนสร้างถึง 20,000 คน และนายช่างที่ออกแบบต้องถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมที่งดงามกว่านี้ได้อีก

พระเจ้าชาห์จาห์ฮาลทรงไร้สุขเมื่อขาดพระมเหสีที่ทรงรักยิ่ง ทรงทำตามคำสัญญาไม่มีพระมเหสีใหม่และทรงประทานทรัพย์จำนวนมหาศาลไปกับการทำบุญและการกุศลมากมาย และได้โปรดให้สร้างอนุสาวรีย์ใหญ่ เป็นที่ฝั่งพระศพโดยเลือกบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำยมนา ตอนโค้งที่สวยงามและเหมาะที่สุดด้วยหินอ่อนสีขาวอย่างดีเยี่ยมที่สุด และได้ประดับตกแต่งด้วยอัญมณีมีค่ามากมาย

วัสดุก่อสร้างทั้งหลายมาจากที่ต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. หินอ่อน ได้จากเมืองชัยปุระ
  2. ศิลาแลง จากฟาเตปุรริขรี
  3. พลอยสีฟ้า จากธิเบต
  4. พลอยสีเขียว จากอียิปต์
  5. หินสีฟ้า จากคัมภัย
  6. โมรา จากคัมภัย
  7. เพชร จากเมืองฟันนา
  8. หินทองแดง จากรัสเซีย
  9. หินทราย จากแบกแดด

ระหว่างการก่อสร้างที่กินเวลายาวนานถึ 22 ปีนั้น คณะผู้จัดสร้าง ทุกคน ทุกฝ่ายทุ่มเทสุดความสามารถทุ่มเทชีวิต สร้างอนุสาวรีย์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อพระนางมุมตัส มาฮาล ผู้ซึ่งเมื่อมีพระชนม์อยู่ ทรงเป็นผู้ที่มีจิตเมตตา ทรงงานการกุศลไว้อย่างมหาศาล ให้ความกรุณาต่อทุกคน ดังนั้นคณะทำงานจะถือว่า ยิ่งประณีตวิจิตรบรรจงเท่าใด ก็เป็นการถวายความจงรักภักดีมากเท่านั้น

ทว่า…ข้อเดียวที่ทรงรักษาสัญญาไม่ได้ก็คือ ข้อที่พระมเหสีเคยขอร้องให้เสด็จมาเยี่ยมพระนางที่สุสานทุกปี เพราะโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าชาห์จาห์ฮาลเอง ที่ทรงเห็นว่าพระราชบิดาใช้จ่ายพระราชทรัพย์จำนวนมากมายมหาศาลไปกับการสร้างสุสานแก่พระนางมุมตัส มาฮาล จึงได้ชิงบัลลังก์และจับพระราชบิดาไปคุมขัง พระเจ้าชาห์จาห์ฮาลจึงทำได้เพียง “เขย่งพระบาท” มองทัชมาฮาลผ่านลูกกรงคุกทุกวันเท่านั้น แม้กระทั่งยามที่พระเจ้าชาห์จาห์ฮาลถึงกาลอันใกล้จะสิ้นพระชนม์ ก็ยังทรงขอร้องให้ผู้คุมประคองพระเศียรเพื่อทรงทอดพระเนตรทัชมาฮาลของพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย… แล้วหลังจากพระองค์จากไป พระศพของพระองค์จึงได้ถูกนำมาประดิษฐานเคียงข้างพระศพพระนางมุมตัส มาฮาล ใต้โดยมโนสิงห์ ในทัชมาฮาล เคียงกันกันตลอดกาล…นิรันดร์

ทัชมาฮาล ได้รับคัดเลือกให้เป็นมรดกโลก ในปี 2526 และล่าสุดได้รับเลือกเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ในปี 2550

 

 

 

ต้นเรื่อง : http://learningpune.com/?p=675
http://travel.truelife.com/detail/1749948

 

แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: