เทศกาลและวันสำคัญในอินเดีย
เทศกาลและวันสำคัญในอินเดีย
วันประสูติของคุรุโกวินด์ซิงห์ (Guru Govind Singh)
คุรุโกวินด์ซิงห์ชยันติ (Guru Govind Singh Jayanti) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คุรปูรับ (Gurpurab) เป็นโอกาสเฉลิมฉลองวันสำคัญวันหนึ่งของชาวซิกข์ทั่วโลก ในวาระครบรอบวันประสูติของ คุรุโกวินด์ซิงห์ (Guru Govind Singh) ศาสดาพระองค์ที่สิบและพระองค์สุดท้ายของศาสนาซิกข์
อ่านเพิ่มเติม >>> คุรุโกวินด์ซิงห์ชยันติ |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันชาติอินเดีย (Republic Day)
วันที่ 26 มกราคม เป็นหนึ่งในวันที่มีความสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดียได้หมุนเวียนมาอีกวาระ นั่นคือ วันที่รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1950 ทำให้อินเดียได้กลายเป็นประเทศที่มีเอกราชโดยแท้จริง วันนี้จึงถือเป็น “วันชาติอินเดีย (Republic Day)”
อ่านเพิ่มเติม >>> วันชาติอินเดีย | วันชาติอินเดีย 2 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
เทศกาลมหาศิวราตรี (Shivaratri)
ศิวราตรี (Shivaratri) หรือมหาศิวราตรี (Maha Shivaratri) เป็นเทศกาลสำคัญวันหนึ่งของชาวฮินดูที่เฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะในยามค่ำคืนของวันที่ 13 หรือ 14 ในวันกฤษณะปักษา (Krishna Paksha) หรือวันแรมแห่งเดือนมาฆะ วันนี้จึงเป็นวันหยุดราชการวันหนึ่งทั่วอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม >>> ศิวราตรี |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
โฮลี (Holi)
โฮลี (Holi) คือ เทศกาลเล่นสีของชาวอินเดีย เฉลิมฉลองกันในปลายฤดูฝน ในวันเพ็ญสุดท้ายแห่งเดือน Phalgun Purnima ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู (ปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือ ต้นเดือนมีนาคม) ซึ่งเทศกาลนี้ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศอินเดียเท่านั้น ยังมีในที่อื่นๆ เช่นในประเทศ ศรีลังกา เนปาล ซุรินาเม เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม >>> โฮลี 1 | โฮลี 2 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
กุฎิปาดาวา (Gudi Padava)
เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินฮินดูมาราตีในรัฐมหาราษฏระ ซึ่งวันปีใหม่นี้เรียกขานกันในชื่อต่างๆ แตกต่างกันตามพื้นที่ ได้แก่ Chaitra Sukladi, Ugadi, Gudi Padava, Cheti Chand, Navreh และ Sajibu Cheiraoba เทศกาลปีใหม่ Gudhi Padva นี้เฉลิมฉลองกันส่วนใหญ่ใน รัฐมหาราษฏระ กัว พื้นที่ส่วนหนึ่งของรัฐการ์นาตะกาทางตอนเหนือ และบางส่วนของรัฐมัธยประเทศ
อ่านเพิ่มเติม >>> กุฎิปาดาวา 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันเกิดหนุมาน (Hanuman Jayanti)
เป็นเทศกาลสำคัญวันหนึ่งของชาวฮินดู คือวันจุติของเทพเจ้าองค์หนึ่งซึ่งได้รับความนิยมนับถือมาก นั่นคือ หนุมาน ซึ่งชาวฮินดูถือว่าเป็นอวตารปางหนึ่งของพระศิวะ วัดของหนุมานตามที่ต่างๆ ก็จะมีการตกแต่งประดับประดาสวยงาม พร้อมกับผู้ที่นับถือศรัทธาในหนุมานมาร่วมพิธีกรรมกันคับคั่ง และเทศกาลนี้ก็มีการเฉลิมฉลองกันทั่วอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม >>> หนุมาน 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)
Good Friday หรือ วันศุกร์ประเสริฐ เป็นวันที่มีความสำคัญมากวันหนึ่งตามปฏิทินของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นการระลึกถึงความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ความเสียสละ และการอุทิศพระองค์ของพระเยซู ที่ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ ชาวคริสต์จึงเรียกวันศุกร์นั้นว่า Good Friday
อ่านเพิ่มเติม >>> ศุกร์ประเสริฐ 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันอีสเตอร์ (Easter)
ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของผู้นับถือศาสนาคริสต์ ที่มีการเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะในอินเดีย แม้ว่าชาวคริสต์ในอินเดียมีแค่ 2.5 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งประเทศก็ตาม การเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์ (Easter) ก็มีขึ้นในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะที่เมืองมุมไบ กัว และรัฐทางตอนเหนือของอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม >>> อีสเตอร์ 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันเกิดดร.อัมเบดการ์ (Ambedkar Jayanti)
วันนี้ถือเป็นวันหยุดสำคัญวันหนึ่งของคนอินเดียทั้งประเทศ เนื่องในวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของ ดร.อัมเบดการ์ สำหรับชาวพุทธแล้วพวกเรารู้จักท่านเป็นอย่างดีในฐานะผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย แต่สำหรับคนอินเดียท่านมีความสำคัญมากไปกว่านั้น เนื่องจากบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ
อ่านเพิ่มเติม >>> ดร.อัมเบดการ์ 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันรัฐมหาราษฎระ (Maharashtra Day)
วันที่ 1 พฤษภาคม นอกเหนือจากเป็นวันแรงงาน (May Day or Labour Day) ที่มีการเฉลิมฉลองกันในที่ต่างๆ ทั่วโลกแล้ว ยังเป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของรัฐมหาราษฎระ เนื่องจากเป็นวันเฉลิมฉลองวันสถาปนารัฐ ซึ่งได้รับสถานะเป็นรัฐในวันที่ 1 พฤษภาคม 1960
อ่านเพิ่มเติม >>> รัฐมหาราษฏระ 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันแม่ของอินเดีย (Mother Day)
ในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม คือ วันแม่ของอินเดีย การเฉลิมฉลองวันแม่ของชาวอินเดียนี้เป็นแนวคิดที่มาจากตะวันตก แม้จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวอินเดีย ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่ถึง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี วันนี้จึงถือเป็นวันสำหรับครอบครัววันหนึ่งสำหรับชาวอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม >>> วันแม่อินเดีย 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันวิสาขบูชา (Buddha Purnima, Buddha Jayanti)
วันวิสาขบูชา หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า Buddha Purnima หรือ Buddha Jayanti ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์วันหนึ่งของชาวพุทธ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ ในเดือนวิสาขะ ตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน รัฐบาลอินเดียได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการสำคัญวันหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม >>> วิสาขบูชา 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
ปัลกี (Palkhi)
ปัลกี (Palkhi) เป็นชื่อเรียกในท้องถิ่น หมายถึง ขบวนแห่เกี้ยวเงินอันงดงาม เทศกาลปัลกีนี้จัดขึ้นประจำทุกปีในเดือน Ashadh (มิุถุนายน-กรกฎาคม) และเดือน Karthik (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ซึ่งใช้เวลาเฉลิมฉลองทั้งหมดรวม 22 วัน ที่พิเศษอย่างยิ่งคือ เทศกาลนี้มีขึ้นเฉพาะแต่ในรัฐมหาราษฎร์เท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม >>> ปัลกี 1 | ปัลกี 2 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
กูรูปูรณิมา (Guru Purnima)
เทศกาล “กูรูปูรณิมา” (Guru Purnima) หรือรู้จักกันในอีกชื่อว่า “วยาสปูรณิมา” (Vyas Purnima) เทศกาลนี้จัดขึ้นในวันที่พระจันทร์เต็มดวง แห่งเดือนอาฉาต (Ashadh) ตามปฏิทินของชาวฮินดู มีการจัดงานเฉลิมฉลองทั่วอินเดียเพื่ออุทิศแด่ กูรู หรือ ครู ผู้ชี้แนะแนวทางให้กับเราและให้แรงบันดาลใจในการก้าวไปข้างหน้าอย่างถูกทิศทาง
อ่านเพิ่มเติม >>> กูรูปูรณิมา 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
รามซัน (Ramzan) หรือ รอมะฎอน (Ramadan)
11 สิงหาคม-9 กันยายน ค.ศ.2010 คือช่วงเทศกาล รามซัน (Ramzan) หรือ รอมะฎอน (Ramadan) บ้างก็เรียกว่ารอมฎอน รอมาดอน รอมะดอน ตรงกันเดือน 9 ตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ ในศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นช่วงการถือศีลอดของมุสลิมทั่วโลกเป็นเวลา 1 เดือน โดยเริ่มต้นในวันนี้ และถือเป็นวันหยุดสำคัญวันหนึ่งของชาวมุสลิมในอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม >>> รอมะฎอน 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันประกาศเอกราชของอินเดีย (India’s Independence Day)
อ่านเพิ่มเติม >>> วันประกาศเอกราช 1 | วันประกาศเอกราช 2 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
รักษาบันดาน (Raksha Bandhan)
เทศกาลรักษาบันดาล (Raksha Bandhan) บ้างก็เรียกว่า ราคี (Rakhi) เป็นเทศกาลของชาวฮินดูที่เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชายกับน้องสาว ในวันเพ็ญแห่งเดือนศรวณะ (Shravana) วันนี้จึงถือว่าเป็นวันสำคัญที่เฉลิมฉลองกันทั่วอินเดีย เพื่อแสดงออกถึงความรักความผูกพันระหว่างพี่ชายและน้องสาว
อ่านเพิ่มเติม >>> รักษาบันดาล 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
กฤษณะจันมาสตามิ (Krishna Janmashtami)
กฤษณะจันมาสตามิ (Krishna Janmashtami) หรือที่รู้จักกันในหลายชื่อต่อไปนี้ Krishnashtami, Saatam Aatham, Gokulashtami, Ashtami Rohini, Srikrishna Jayanti, Sree Jayanthi เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดพระกฤษณะ (Lord Krishna) มักจะอยู่ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม-กลางเดือนกันยายน
อ่านเพิ่มเติม >>> กฤษณะจันมาสตามิ 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
อีดิลฟิตรี (Eid-ul-Fitr)
วันที่ 10 กันยายนนี้เป็นวันเฉลิมฉลองการออกศีลอดของชาวมุสลิม ที่เรียกว่า อีดิลฟิตรี (Eid-ul-Fitr) หรือมักเรียกสั้นๆ ว่า อีด (Eid) ถือเป็นการสิ้นสุดเทศกาลถือศีลอด รอมะฎอน (Ramadan) (เดือน 9) และเริ่มต้นวันแรกของเดือน 10 ที่เรียกว่า “เชาวัล (Shawwal)” ตามปฏิทินอิสลาม
อ่านเพิ่มเติม >>> อีดิลฟิตรี 1 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
คเณศจตุรถี (Ganesh Chaturthi)
เทศกาลพระคเณศ (Ganpati festival) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คเณศจตุรถี (Ganesh Chaturthi) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียเลยก็ว่าได้ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ ในช่วงวันขึ้น 4 ค่ำ แห่งเดือนภาทรบท (Bhaadrapada)
อ่านเพิ่มเติม >>> คเณศจตุรถี 2009 | คเณศจตุรถี 2010 | คเณศจตุรถี 2010 M.G.Rd. | คเณศจตุรถี 2010 Deccan College |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันเกิดคานธี (Gandhi Jayanti)
โมหันดาส การามจันด์ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) นักการเมือง ผู้นำทางจิตวิญญาณ และบิดาแห่งชาติอินเดีย เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราช จนอินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869
อ่านเพิ่มเติม >>> วันเกิดคานธี |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
นวราตรี (Navratri)
นวราตรี (Navratri, Navaratri, หรือ Navarathri) เป็นเทศกาลแห่งการบูชาและการเต้นรำ ในภาษาสันสกฤตคำว่า นว (nava) หมายถึง เก้า และ ราตรี (ratri) หมายถึง กลางคืน จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “เก้าคืน” ซึ่งในช่วง “เก้าคืน” นี้จะมีการบูชา พระแม่ทุรคา (Durga) หรือศักติ (Shakti) ซึ่งหมายถึง พลังหรืออำนาจ ในเก้ารูปแบบ
อ่านเพิ่มเติม >>> นวราตรี (Navratri) | ดันดิยาราส (Dandiya Raas) |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
ดุชเชห์ร่า (Dussehra)
ดุชเชห์ร่า (Dussehra) เป็นเทศกาลหนึ่งที่เฉลิมฉลองกันทั่วอินเดีย หลังจากนวราตรีผ่านไปแล้ว 9 วัน ในวันที่ 10 แห่งเดือนอัศวิน (Ashwin) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม ชาวฮินดูจะเฉลิมฉลองกันอีกครั้งเรียกว่า ดุชเชห์ร่า หรือ วิชยทัสมิ (Vijayadashmi) ถือเป็นวันที่พระรามสังหารอสูรราวณะได้ และยังเป็นวันที่พระแม่ทุรคาเอาชนะมหิงสาสูร
อ่านเพิ่มเติม >>> นวราตรี (Navratri) | ดุชเชห์ร่า (Dussehra) |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันประสูติของคุรุนานัก (Guru Nanak Jayanti)
วันที่ 2 พฤศจิกายนปีนี้ เป็นวันคล้ายวันประสูติของคุรุนานัก (Guru Nanak Jayanti) ศาสดาองค์แรกของศาสนาซิกข์ ซึ่งเทศกาลต่างๆ ของชาวซิกข์จะหมุนเวียนตามกำหนดวันประสูติของศาสดาทั้งสิบท่านและเหตุการณ์สำคัญในศาสนาซิกข์ โดยเฉพาะวันประสูติของคุรุนานัก ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดเทศกาลหนึ่งของชาวซิกข์
อ่านเพิ่มเติม >>> วันประสูติคุุรุนานัก |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
ธันเตราส (Dhanteras)
ธันเตราส (Dhanteras) เป็นวันแรกของเทศกาลดิวาลี (Diwali) ปีใหม่ของชาวฮินดู ที่เฉลิมฉลองกันทั้งในอินเดียและทั่วโลก ในวันที่ 13 แห่งเดือนอัศวิน (Ashwin) ตามปฏิทินฮินดู วันนี้ยังเรียกกันในชื่อต่างๆ เช่น ธันตระโยทชิ (Dhantrayodashi) หรือ ธันวันตาริ ไตรโอทาสิ (Dhanwantari Triodasi) เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม >>> ธันเตราส |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
ดิวาลี (Diwali)
Diwali (ดิวาลี) หมายถึง แถวหรือแนวของตะเกียงไฟ (rows of lighted lamps) ดังนั้น Diwali จึงเป็นเทศกาลแห่งแสงไฟและความรื่นเริง เพื่อต้อนรับปีใหม่ของชาวฮินดู อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของคุณงามความดีที่มีต่อความชั่วร้าย และแสงสว่างที่อยู่เหนือความมืดมน
อ่านเพิ่มเติม >>> ดิวาลี 2009 | ดิวาลี 2010 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
วันเด็กอินเดีย (Children’s day)
ในวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี คือ วันเด็กของอินเดีย (Children’s day!) ภาษาฮินดี เรียกวันนี้ว่า บาลดิวาส (Bal Diwas) ซึ่งกำหนดขึ้นตามวันเกิดของนายกรัฐมนตรีคนแรก บัณฑิต เยาวหราล เนห์รู (Pandit Jawaharlal Nehru) วันนี้จึงเป็นวันรำลึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรีของอินเดียท่านนี้อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม >>> วันเด็กอินเดีย |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
เทศกาลอีดิลอัฎฮา (Id-ul-Zuha)
วันอีดิลอัฎฮา (Id-ul-Zuha) หรือในอินเดียเรียกว่า บากรีอีด (Bakri-Id) หรือ บากริด (Bakrid) ซึ่งคำว่า อีดิลอัฎฮา มาจากภาษาอาหรับ ที่ ‘อีด’ แปลว่า ‘รื่นเริง เฉลิมฉลอง’ และ ‘อัฎฮา’ แปลว่า ‘เชือดสัตว์พลีทาน’ ดังนั้น วันตรุษอีดิลอัฎฮา จึงหมายถึง วันเฉลิมฉลองการเชือดสัตว์เพื่อพลีทาน
อ่านเพิ่มเติม >>> อีดิลอัฎฮา |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
เทศกาลนกเงือก (Hornbill Festival)
นากาแลนด์ (Nagaland) ดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าต่างๆ 16 เผ่า ที่เรียกตนเองว่า “นากา (Naga)” เทศกาลนกเงือก (Hornbill Festival) ก็เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ซึ่งรัฐบาลของรัฐนากาแลนด์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม
อ่านเพิ่มเติม >>> เทศกาลนกเงือก |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤
Christmas Day
วันคริสต์มาส นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวคริสเตียนทั่วโลก เนื่องจากเชื่อกันว่าเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ ที่เมืองเบธเลเฮม ในวันที่ 25 ธันวาคม ดังนั้นในวันนี้ของทุกปีชาวคริสเตียนทั่วโลก รวมทั้งคนในศาสนาอื่นๆ ก็ร่วมเฉลิมฉลองวันหยุดคริสต์มาสกันอย่างสนุกสนาน และวันนี้ก็เป็นวันหยุดราชการที่สำคัญวันหนึ่งของอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม >>> วันคริสต์มาส 2010 |
¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤ ¤