Updates

ปรัชญา ความเชื่อ

“Happy Diwali!” ปีใหม่ของชาวฮินดู

แม้ดิวาลีจะเป็นที่รู้จักกันในนามของเทศกาลปีใหม่ของศาสนาฮินดู แต่ทุกศาสนาก็ร่วมเฉลิมฉลองและต่างมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป ไปร่วมอ่านเอาเรื่องกันหน่อยว่า เทศกาลหยุดยาว 5 วันนี้ มีกิจกรรมอะไรบ้าง :) (...อ่านต่อ)

เชื่อหรือไม่ พริกกับมะนาวช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้

อยู่อินเดียสิ่งที่เห็นได้บ่อยๆ ก็คือ พวงพริกและมะนาวที่ร้อยรวมกัน และแขวนไว้ตามท้ายรถต่างๆ รวมทั้งห้อยแขวนไว้ที่บ้านด้วย พวกเราก็ดูกันขำๆ แปลกดี โดยที่ไม่ทราบความหมาย แต่การใช้พืชผักทั้งสองสิ่งรวมกันนี้ชาวอินเดียนเขาเชื่อว่าจะช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้ (...อ่านต่อ)

พิธีทุบมะพร้าว (Coconut Breaking)

มะพร้าว หรือ coconut ในภาษาอังกฤษ และภาษาสันสกฤตเรียกว่า Sriphala ซึ่งหมายถึง ผลไม้แห่งพระเจ้า ดังนั้นเราจึงเห็นชาวอินเดียนิยมถวายมะพร้าวเป็นลูกๆ เพื่อเป็นของบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นอกจากนั้นมะพร้าวยังมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ ของทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองรถใหม่ สร้างสะพานใหม่ เปิดตัวหนังเรื่องใหม่ พิธีเปิดประชุมสัมมนาต่างๆ เป็นต้น (...อ่านต่อ)

นวราตรี (Navratri) เทศกาลบูชาพระแม่ทุรคา

นวราตรี (Navratri, Navaratri, หรือ Navarathri) เป็นเทศกาลแห่งการบูชาและการเต้นรำ ในภาษาสันสกฤตคำว่า นว (nava) หมายถึง เก้า และ ราตรี (ratri) หมายถึง กลางคืน จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “เก้าคืน” ซึ่งในช่วง “เก้าคืน” นี้จะมีการบูชาพระแม่ทุรคา (Durga) หรือศักติ (Shakti) ซึ่งหมายถึง พลังหรืออำนาจ ในเก้ารูปแบบ (...อ่านต่อ)

“เกียรติยศสังหาร” เพื่อเกียรติของใคร

การแต่งงานในสังคมอินเดียกางกั้นด้วยม่านประเพณีอันทึบหนาดังม่านเหล็ก ขณะที่ข้อดีเสียระหว่างการแต่งแบบจับคู่โดยพ่อแม่ (Arranged Marriage) และแบบชอบพอกันเอง (Love Marriage) ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้ถึงศตวรรษหน้า ทั้งพอเข้าใจได้ว่าสังคมที่ยังยึดโยงอยู่กับจารีตประเพณีโดยเฉพาะเรื่องตระกูลและวรรณะอย่างอินเดีย คนทั่วไปย่อมถือว่าการแต่งแบบจับคู่เป็นเรื่องดีงามกว่า แต่ใครจะคาดคิดว่าในศตวรรษที่ 21 เช่นนี้ การขัดต่อจารีตหรือฝ่าม่านประเพณีจะนำไปสู่การฆ่าในนามของเกียรติยศ (...อ่านต่อ)