Updates

รูดาลี (Rudali) ผู้หญิงที่มีอาชีพรับจ้างร่ำไห้ในงานศพ

การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดในชีวิต แต่คนเราก็มีการแสดงออกที่แตกต่างกัน สำหรับบุคคลชั้นสูงในบางพื้นที่ในราชสถาน รัฐทางตะวันตกสุดและดินแดนแห่งทะเลทรายของอินเดีย จะไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางอารมณ์ในที่สาธารณะ จึงต้องจ้างให้กลุ่มผู้หญิงวรรณต่ำกว่ามาร่ำไห้แทนในงานศพของบุคคลในครอบครัว

กลุ่มสตรีที่ทำอาชีพดังกล่าวนี้เรียกว่า รูดาลี (rudali, rudaali) โดยความหมายตามตัวอักษรแปลว่า ผู้หญิงที่ร้องไห้ งานของพวกเธอเป็นการแสดงความเศร้าโศกแทนคนในครอบครัวชั้นสูงที่ไม่สามารถแสดงออกได้ พวกเธอจะต้องมาร่ำไห้ที่บ้านของผู้ตายทุกวัน ซึ่งเชื่อกันว่ายิ่งแสดงความเศร้าโศกเสียใจหรือร่ำไห้มากเท่าใด ก็ยิ่งแสดงถึงเกียรติ ความยิ่งใหญ่ และยศศักดิ์ของคนตายมากเท่านั้น

อีกขนบหนึ่งที่ยังคงมีให้เห็นคือ สตรีอินเดียที่แต่งงานแล้ว จะมีจุดสีแดงแต้มที่กลางหน้าผาก (Bindi) และสวมกำไลแขน บางครั้งมีสร้อยมงคลสูตร (Mangalsutra) อันเป็นสัญลักษณ์ของการแต่งงาน ในทุก ๆ วันสามีจะต้องแต้มจุดแดงที่กลางหน้าผากให้กับภรรยาด้วยความเชื่อว่าจุดแดงนี้เชื่อมโยงกับเส้นชีวิตของตน

แต่เมื่อใดที่สามีเสียชีวิตลง รูดาลี (ที่ถูกว่าจ้าง) จะเริ่มต้นร้องไห้คร่ำครวญ และเข้ามาดึงหรือทำลายสัญลักษณ์ต่างๆ ของผู้เป็นภรรยาออก เช่น หักกำไลทิ้ง ดึงสร้อยมงคลสูตรออกจากคอ และลบจุดแดงที่กลางหน้าผาก

ชีวิตของรูดาลีซึ่งเป็นกลุ่มผู้หญิงธรรมดาในวรรณะต่ำไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจมากนัก จนกระทั่งเรื่องราวของพวกเธอได้รับการสะท้อนเป็นภาพยนตร์ฮินดีที่ชื่อว่า Rudaali (1993) นำแสดงโดย ดิมเปิล กาปาเดีย (Dimple Kapadia ปัจจุบันอายุ 62 ปี (2019) ทำให้คนภายนอได้รู้จัก รูดาลี และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวรัฐราชสถานมากขึ้น

images

Poster ภาพยนตร์ Rudaali (1993) นำแสดงโดย DIMPLE KAPADIA, RAJ BABBAR

ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ส่งผลให้นักแสดงนำ ดิมเปิล ได้รับรางวัลในงานแสดงภาพยนตร์แห่งชาติ (National Film Award) ในบทบาทของ ศาณิชรี (Shanichari) ผู้หญิงที่มีอาชีพรูดาลี

Dimple-Kapadia

(ซ้าย) ดิมเบิลตอนแสดงเป็นศาณิชรีในเรื่อง Rudaali (ขวา) ดิมเบิลในงาน Gaurav Icons ปี 2018

ลองมาดูเรื่องราวของเธอจากบทเพลงในภาพยนตร์ Rudali กันค่ะ

ส่วน version ด้านล่างนี้ ผู้หญิงและผู้ชายร้อง มีคำแปลภาษาอังกฤษให้ด้วยค่ะ

และชิ้นโฆษณาสถานีวิทยุ Mirchi ที่หยิบยกเอาเรื่องราวของรูดาลีมาทำให้คนสนใจอีกครั้งในปี 2006 โดยโฆษณาปูเรื่องว่ารูดาลีรุ่นใหม่ไม่สามารถถ่ายทอดความโศกเศร้าออกมาได้ จนทำให้เจ้าภาพเลิกจ้าง และมาเฉลยในตอนท้าย พร้อมสโลแกนคลื่นสถานีว่า “Mirchi Sunnewaale Always Khush!”ซึ่งแปลคร่าว ๆ ว่าคนฟังคลื่น Mirchi มีความสุขเสมอ

และแถมโฆษณาตลก ๆ ของ Permanent Marker ยี่ห้อหนึ่งตบท้ายค่ะ

Credit Featured image : TVC for Radio Mirchi, Rudali.
เนื้อหาบางส่วนจาก Himanshu Soni Thailand 

แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: