Updates

“ก่อน” เดินทางมาเรียนอินเดีย ต้องทำอะไรบ้าง

เป็นที่กังวลใจแก่คนมาใหม่อยู่ไม่น้อย สำหรับการเตรียมตัวก่อนเดินทางมายังประเทศอินเดีย ที่แสนจะไม่คุ้นเคย วันนี้ผู้เขียนจึงได้นำบทความส่วนหนึ่งจาก การเรียนต่อในอินเดีย ระดับอุดมศึกษา มาแนะแก่ท่านที่มองหาข้อมูลก่อนการเดินทาง แบบสรุปรวบรัด เข้าใจง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ขอให้ท่านศึกษาข้อมูลส่วนอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

เรื่องควรรู้: การเดินทางเข้ามาอินเดียเพื่อสมัครเรียนต่อ

  1. เข้าประเทศมาโดยวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa) เมื่อทางสถานศึกษาตอบรับแล้วจะต้องเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนประเภทวีซ่า สำหรับผู้ที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีและโท ใช้วีซ่านักเรียน (Student Visa) สำหรับผู้ที่ศึกษาในระดับ M.Phil หรือ Ph.D.ใช้วีซ่าวิจัย (Research Visa)
  2. เข้าประเทศมาด้วยวีซ่านักเรียนแบบชั่วคราว (Provisional Student Visa) ซึ่งมีอายุ 3 เดือน สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียน (Student Visa) ที่อินเดียได้เมื่อสถาบันการศึกษานั้น ๆ ตอบรับให้เป็นนักศึกษาแล้ว

การขอวีซ่านักเรียนและวีซ่าทำวิจัย (Student Visa and Research Visa)
มีเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ดังนี้

  1. หนังสือเดินทางเล่มจริง ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง 2ฉบับ
  3. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาใบสูติบัตร สำหรับนักเรียนที่อายุไม่เกิน15 ปี
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน
  5. รูปถ่ายขนาดที่ใช้ทำหนังสือเดินทาง (2 x 2 นิ้ว และถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
  6. จดหมายตอบรับการเข้าเป็นนักเรียน (Admission Letter)
  7. แบบฟอร์มขอวีซ่า Visa Application Form ที่กรอกสมบูรณ์แล้ว สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์สถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย
  8. ใบแสดงผลการเรียนของปีล่าสุด
  9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้อุปการะ ย้อนหลัง 3 เดือน
  10. สำหรับวีซ่าทำวิจัย นอกจากจะต้องมีจดหมายตอบรับจากทางสถาบันแล้ว ยังต้องเตรียม

เอกสารเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
• บทคัดย่อของหัวข้อที่จะทำวิจัย
• จดหมายรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาการทำวิจัย

อายุวีซ่า

  • อายุของวีซ่าจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาของหลักสูตรที่จะไปศึกษา สำหรับบางกรณีถ้ายื่น Provisional Admission จะได้วีซ่านักเรียนชั่วคราว Provisional Student Visa)
  • วีซ่านักเรียนจะเข้าออกประเทศได้สูงสุด 3 ครั้งต่อปี

ระยะเวลาการดำเนินการ

  • สำหรับวีซ่าวิจัย ผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารทั้งหมดอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดการเดินทาง
  • สำหรับวีซ่านักเรียนทั่วไปจะใช้เวลาดำเนินการ 6 วันทำการ

ค่าใช้จ่าย

• วีซ่านักเรียน 3100 บาท
• วีซ่าวิจัย ไม่เกิน-1 ปี 5000 บาท (ถ้า1 ปี- 3 ปี 8200 บาท)
ข้อมูลเพิ่มเติม

  • เวลาทำการสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย
    จันทร์-ศุกร์ 08.30 – 17.00 น.
    โทรศัพท์ 0-2258-0300-5 โทรสาร 0-2258-4627 0-2262-1740
  • เว็บไซต์สถานทูต http://www.indianembassy.in.th/
  •  ที่อยู่ ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าประเทศอินเดีย Indian Visa and Passport Application Centre (IVS GLOBAL Pvt. Ltd.)
    อาคาร 253 อโศก ชั้น 22 ถนนสุขุมวิท สุขุมวิทซอย 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 (ใกล้กับโรงพยาบาลจักษุรัตนิน)
    โทรศัพท์ :02-6641200 โทรสาร :02-6641201
    อีเมล์ :infothai@ivsglobal.in
    เว็บไซต์ : indiavisathai.com/
baggage_footage.shutterstock.com_

Image source : blog.coxandkings.com

“หลัง” จากถึงอินเดียแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง

การลงทะเบียนกับสำนักงาน FRO

โดยทั่วไปชาวต่างชาติที่จะเข้ามาพำนักในอินเดียเกินกว่า 6 เดือน ต้องไปรายงานตัวกับสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง (FRO: Foreigner’s Registration Office) ภายใน 14 วันหลังจากเข้าประเทศอินเดีย ทั้งนี้ สำนักงาน FRO ตั้งอยู่ประจำเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศอินเดีย ทำหน้าที่ดูแลการเข้ามาอาศัยในอินเดียของชาวต่างชาติ เช่น การลงทะเบียนเข้า/ออกเมือง และการขอต่ออายุวีซ่า เป็นต้น ชาวต่างชาติที่เข้ามาในอินเดียจะต้องกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ที่เว็บไซต์ของ FRO (http://indianfrro.gov.in/frro/) แล้วแนบด้วยเอกสารสำคัญตามแต่กรณี ดังนี้

การลงทะเบียนเข้าเมือง (Registration)

  • สำเนาหนังสือเดินทางและวีซ่า 2 ฉบับ
  • รูปถ่าย 2 ใบ
  • ใบรับรองจากสถานศึกษา (Bonafide Certificate )
  • Resident Proof หลักฐานแสดงการอยู่อาศัย ( สามารถขอแบบฟอร์มได้จากสำนักงาน FRO )
  • ICCR Letter จดหมายรับรองจาก ICCR ในกรณีที่ได้รับทุนการศึกษาจาก ICCR
  • ค่าธรรมเนียม 100 รูปี
    >>> เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารที่เรียกว่า Residential Permit ให้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการ เข้าพำนักอย่างถูกกฎหมายและใช้ในการขอลงทะเบียนออกเมือง หรือ Exit Permit (บางเมืองไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม เช่น เมืองปูเณ่ เป็นต้น)

การลงทะเบียนออกเมือง (Exit Permit)

  • สำเนาหนังสือเดินทางและวีซ่า 2 ฉบับ
  • รูปถ่าย 2 ใบ
  • Resident Proof
  • Residential Permit
    >>> เจ้าหน้าที่จะออกเอกสาร ที่เรียกว่า Exit Permit ให้ เพื่อเป็นหลักฐานในการออกเมือง

การขอต่อวีซ่า (Visa Extension)

  • สำเนาหนังสือเดินทางและวีซ่า 2 ฉบับ
  • รูปถ่าย 2 ใบ
  • ใบรับรองจากสถานศึกษา (Bonafide Certificate )
  • Resident Proof
  • Residential Permit
  • Bank Statement หรือ หลักฐานการชำระเงินกับสถานศึกษา
  • ICCR Letter ในกรณีได้รับทุนการศึกษาจาก ICCR
  • Student form number สามารถขอได้จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนักศึกษาต่างประเทศของสถานศึกษาที่กำลังศึกษา
  • เจ้าหน้าที่จะรับเอกสารคำขอต่อวีซ่าไว้ และจะนัดวันมารับวีซ่า โดยใช้เวลาประมาณ 10-20 วัน แล้วแต่กรณี
  • การขอต่อวีซ่าควรกระทำล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุที่ระบุในวีซ่า 2 เดือน

หมายเหตุ เอกสารที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเอกสารหลัก ๆ ที่ใช้ในการดำเนินการติดต่อกับสำนักงาน FRO ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง/เพิ่มเติม ตามแต่กรณี
เวลาทำการ FRO ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.00 – 17.00 น. เว้นวันหยุดราชการ
พักเที่ยงเวลา 13.00 – 14.00 น.

“หลัง” สำเร็จการศึกษา ก่อนออกจากอินเดีย ต้องทำอย่างไร

  • เข้าเว็บไซต์ http://indianfrro.gov.in/frro/ แล้วกรอกใบ Exit Permit หรือ ใบอนุญาตออกนอกประเทศ ในระบบออนไลน์ ทั้งนี้ ก่อนจะพิมพ์เอกสารออกมาเพื่อนำไปยื่นที่ FRRO ผู้สมัครต้องอัพโหลดเอกสารประกอบต่าง ๆ เข้าไปในเว็บด้วย ดังนั้น จึงควรจะสแกนเอกสารต่าง ๆ ไว้เป็นไฟล์รูปภาพหรือไฟล์ pdf รวมถึงเอกสารสำคัญต่างๆควรสแกนทุกอย่างเก็บเอาไว้เพื่อสามารถนำมาใช้ได้สะดวก
  • หลังจากยื่นเอกสารในขั้นตอนของการทำ Exit Permit และพิมพ์เอกสารออกมาแล้ว ให้นำไปยื่นที่ FRRO ในเวลาทำการ เจ้าหน้าที่จึงจะออกเอกสารออกนอกประเทศให้
  • พิมพ์บัตรโดยสารเครื่องบินมาด้วย เพื่อนำไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สนามบิน หากไม่มีบัตรโดยสารเครื่องบินแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสนามบิน
  • ตรวจสอบน้ำหนักกระเป๋าและสัมภาระไม่ให้เกินน้ำหนักที่สายการบินกำหนดไว้ ถ้าเป็นสายการบิน low-cost (Indigo, Jet Airways, etc.) จะจำกัดน้ำหนักกระเป๋าได้เม่เกิน 20 กก. และอาจผ่อนผันให้ถึง25 กก. ทั้งนี้ สำหรับการบินในประเทศ สายการบินเหล่านี้จะจำกัดนํ้าหนักกระเป๋าไม่เกิน 15 กก. และสัมภาระที่ถือขึ้นเครื่องต้องมีนํ้าหนักไม่เกิน 7 กก.
  • เตรียมเอกสารสำคัญทุกอย่างไว้ให้เรียบร้อย บัตรโดยสารเครื่องบิน, Resident permit, Exit permit, Passport ควรพกปากกาติดตัวไปด้วยเผื่อไว้เขียนใบเข้าเมืองที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม)
  • ตรวจสอบเวลาเดินทางและควรเผื่อเวลารถติดไว้ด้วย และจะได้เป็นการไม่ฉุกละหุกเกินไป
  • วางแผนการใช้เงินให้เหลือเงินรูปี ในตอนขากลับด้วย เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในสนามบินสูงกว่าร้านข้างนอก
  • ตรวจสอบความปลอดภัยของทรัพย์สินและของมีค่าในห้องก่อนเดินทางกลับใส่กุญแจปิดห้องให้เรียบร้อย หากมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ให้นำไปฝากเพื่อน รถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ ควรล็อคและจอดให้มิดชิด

 

หมายเหตุ
ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นซึ่งรวบรวมโดย เครือข่ายนักเรียนไทยในอินเดีย เมื่อการประชุมฯครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกันยายน 2557 เพื่อช่วยในการตัดสินใจก่อนมาศึกษาเท่านั้น อาจมีความคลาดเคลื่อนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง ขอแนะนำให้ท่านติดต่อกับสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานนั้นๆโดยตรง เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

 

* * * * ** * * * *

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Thai Students in India Network – TSIN

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี

Featured image courtesy : Wikipedia 

 

แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: