Updates

การเรียนต่อในอินเดีย ระดับอุดมศึกษา

 

หมายเหตุ
ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นซึ่งรวบรวมโดย เครือข่ายนักเรียนไทยในอินเดีย เมื่อการประชุมฯครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกันยายน 2557 เพื่อช่วยในการตัดสินใจก่อนมาศึกษาเท่านั้น อาจมีความคลาดเคลื่อนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง ขอแนะนำให้ท่านติดต่อกับสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานนั้นๆโดยตรง เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

ขั้นตอนการสมัครเรียน (Admission)

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัครนักศึกษา

ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กรกฎาคม โดยขึ้นอยู่กับเวลาการเปิด-ปิดภาคเรียน ทั้งนี้ เวลาเปิด-ปิด ภาคเรียนของแต่ละภูมิภาคของอินเดียอาจจะไม่ตรงกัน

ภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย
ภาคเรียนที่ 1 ประมาณเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม
ภาคเรียนที่ 2 ประมาณเดือน มกราคม – พฤษภาคม

ระดับปริญญาตรี (Bachelor Degree)
หลักสูตร 3 ปี แต่บางสาขาวิชาอาจจะเรียน 4-5 ปี

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน

  1. สำเนาเอกสารแสดงผลการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (Transcript) ออกให้โดยโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งต้องแสดงผลการศึกษาของทุกเทอม
  2. ใบรับรองการจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากทางโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษา
  3. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว ประมาณ 1 โหล
  4. หนังสือรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรับรองว่าสถาบันการศึกษานั้นๆ มีอยู่จริงในประเทศไทย (ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครสามารถขอรับได้ที่กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างจังหวัดสามารถขอรับได้ที่ศึกษาธิการเขตของแต่ละจังหวัด)
  5. ใบเทียบวุฒิซึ่งออกให้โดย Association of Indian University (A.I.U) เป็นเอกสารรับรองวุฒิการศึกษาและสถานภาพของสถานศึกษาของผู้สมัครว่าเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาของอินเดีย และเพื่อรับรองว่าสถานศึกษาของผู้สมัครได้รับการรองรองอยู่ในรายชื่อมหาวิทยาลัยของ Association of Indian University ทั้งนี้ สถาบันการศึกษาในอินเดียบางแห่ง อาจจะไม่ขอเอกสารนี้
  6. สำเนาหนังสือเดินทาง

 

ระดับปริญญาโท (Master Degree)
หลักสูตร 2 ปี ยกเว้นสาขาวิชาการศึกษา (M. Ed) และสาขาพละศึกษา (M.P. Ed) ซึ่งมีหลักสูตร 1 ปี ต่อจากระดับปริญญาตรี

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน

  1. สำเนาเอกสารแสดงผลการเรียนของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (Transcript) ออกให้โดยโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งต้องแสดงผลการศึกษาของทุกเทอม
  2. ใบรับรองการจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากทางโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษา
  3. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว ประมาณ 1 โหล
  4. หนังสือรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรับรองว่าสถาบันการศึกษานั้้นๆ มีอยู่จริงในประเทศไทย (ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครสามารถขอรับได้ที่กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนผู้้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างจังหวัด สามารถขอรับได้ที่ศึกษาธิการเขตของแต่ละจังหวัด)
  5. ใบเทียบวุฒิ ซึ่งออกให้โดย Association of Indian University (A.I.U) เป็นเอกสารรับรองวุฒิการศึกษา และสถานภาพของสถานศึกษาของผู้สมัครว่าเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาของอินเดีย และเพื่อรับรองว่า สถานศึกษาของผู้สมัครได้รับการรองรองอยู่ในรายชื่อมหาวิทยาลัยของ Association of Indian University ทั้งนี้สถาบันการศึกษาในอินเดียบางแห่งอาจจะไม่ขอเอกสารนี้
  6. สำเนาเอกสารแสดงผลการเรียนของระดับปริญญาตรี (Transcript) ซึ่งแสดงผลการศึกษาของทุกเทอม
  7. ใบสำเนาปริญญาบัตร
  8. สำเนาหนังสือเดินทาง

 

ระดับอนุปริญญาเอก (Master of Philosophy, M.Phil) และปริญญาเอก (Doctor of
Philosophy, Ph.D)

ระดับอนุปริญญาเอก เป็นการศึกษาในระดับก่อนเข้าปริญญาเอกใช้เวลา 1-2 ปี โดยขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นการศึกษาทั้งแบบ แบบ Course work และ Thesis โดยบางมหาวิทยาลัยได้กำหนดว่า ต้องให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาในระดับ M.Phil ก่อน จึงจะรับเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกได้
ระดับปริญญาเอก หลักสตูร 3-5 ปี สำหรับระบบการเรียนนนั้นขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยบางแห่ง กำหนดให้เรียน Course work และ Thesis แต่บางแห่งไม่ต้องเรียน Course work แต่เขียน Thesis เพียงอย่างเดียว

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน

  1. สำเนาเอกสารแสดงผลการเรียนของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (Transcript) ออกให้โดยโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งต้องแสดงผลการศึกษาของทุกเทอม
  2. ใบรับรองการจบการศึกษาระดับชั้นมัธยิมศึกษาปีที่ 6 จากทางโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษา
  3. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว ประมาณ 1 โหล
  4. หนังสือรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรับรองว่าสถาบันการศึกษานั้น ๆ มีอยู่จริงในประเทศไทย (ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครสามารถขอรับได้ที่กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนผุ้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างจังหวัด สามารถขอรับได้ที่ศึกษาธิการเขตของแต่ละจังหวัด)
  5. ใบเทียบวุฒิซึ่งออกให้โดย Association of Indian University (A.I.U) เป็นเอกสารรับรองวุฒิการศึกษาและสถานภาพของสถานศึกษาของผู้สมัครว่าเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาของอินเดีย และเพื่อรับรองว่าสถานศึกษาของผู้สมัครได้รับการรับรองอยู่ในรายชื่อมหาวิทยาลัย ของ Association of Indian University ทั้งนี้สถาบันการศึกษาในอินเดียบางแห่งอาจจะไม่ขอเอกสารนี้
  6. สำเนาเอกสารแสดงผลการเรียนของระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (Transcript) ซึ่งแสดงผลการศึกษาของทุกเทอม
  7. ใบสำเนาปริญญาบัตรทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท
  8. บทคัดย่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือ Research Proposal, Synopsis of Ph.D. Thesis (สำหรับผู้ที่สมัครในระดับปริญญาเอก)
  9. สำเนาหนังสือเดินทาง

 

*หมายเหตุ
อย่างไรก็ตามเอกสารการสมัครเรียนของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะแตกต่างกัน ทั้งนี้ เอกสารทุกฉบับต้องเป็นภาษาอังกฤษ และต้องนำไปประทับตรารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.consular.go.th

 

“ก่อน” เดินทางมาอินเดีย ต้องทำอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้: การเดินทางเข้ามาอินเดียเพื่อสมัครเรียนต่อ

  1. เข้าประเทศมาโดยวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa) เมื่อทางสถานศึกษาตอบรับแล้วจะต้องเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนประเภทวีซ่า สำหรับผู้ที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีและโท ใช้วีซ่านักเรียน (Student Visa) สำหรับผู้ที่ศึกษาในระดับ M.Phil หรือ Ph.D.ใช้วีซ่าวิจัย (Research Visa)
  2. เข้าประเทศมาด้วยวีซ่านักเรียนแบบชั่วคราว (Provisional Student Visa) ซึ่งมีอายุ 3 เดือน สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียน (Student Visa) ที่อินเดียได้เมื่อสถาบันการศึกษานั้น ๆ ตอบรับให้เป็นนักศึกษาแล้ว

การขอวีซ่านักเรียนและวีซ่าทำวิจัย (Student Visa and Research Visa)
มีเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ดังนี้

  1. หนังสือเดินทางเล่มจริง ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง 2ฉบับ
  3. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาใบสูติบัตร สำหรับนักเรียนที่อายุไม่เกิน15 ปี
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน
  5. รูปถ่ายขนาดที่ใช้ทำหนังสือเดินทาง (2 x 2 นิ้ว และถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
  6. จดหมายตอบรับการเข้าเป็นนักเรียน (Admission Letter)
  7. แบบฟอร์มขอวีซ่า Visa Application Form ที่กรอกสมบูรณ์แล้ว สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์สถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย
  8. ใบแสดงผลการเรียนของปีล่าสุด
  9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้อุปการะ ย้อนหลัง 3 เดือน
  10. สำหรับวีซ่าทำวิจัย นอกจากจะต้องมีจดหมายตอบรับจากทางสถาบันแล้ว ยังต้องเตรียม

เอกสารเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
     • บทคัดย่อของหัวข้อที่จะทำวิจัย
     • จดหมายรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาการทำวิจัย

อายุวีซ่า

  • อายุของวีซ่าจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาของหลักสูตรที่จะไปศึกษา สำหรับบางกรณีถ้ายื่น Provisional Admission จะได้วีซ่านักเรียนชั่วคราว Provisional Student Visa)
  • วีซ่านักเรียนจะเข้าออกประเทศได้สูงสุด 3 ครั้งต่อปี

ระยะเวลาการดำเนินการ

  • สำหรับวีซ่าวิจัย ผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารทั้งหมดอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดการเดินทาง
  • สำหรับวีซ่านักเรียนทั่วไปจะใช้เวลาดำเนินการ 6 วันทำการ

ค่าใช้จ่าย

• วีซ่านักเรียน 3100 บาท
• วีซ่าวิจัย ไม่เกิน-1 ปี 5000 บาท (ถ้า1 ปี- 3 ปี 8200 บาท)
ข้อมูลเพิ่มเติม

  • เวลาทำการสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย
    จันทร์-ศุกร์ 08.30 – 17.00 น.
    โทรศัพท์ 0-2258-0300-5 โทรสาร 0-2258-4627 0-2262-1740
  • เว็บไซต์สถานทูต http://www.indianembassy.in.th/
  •  ที่อยู่ ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าประเทศอินเดีย Indian Visa and Passport Application Centre (IVS GLOBAL Pvt. Ltd.)
    อาคาร 253 อโศก ชั้น 22 ถนนสุขุมวิท สุขุมวิทซอย 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 (ใกล้กับโรงพยาบาลจักษุรัตนิน)
    โทรศัพท์ :02-6641200 โทรสาร :02-6641201
    อีเมล์ :infothai@ivsglobal.in
    เว็บไซต์ : indiavisathai.com/

“หลัง” จากถึงอินเดียแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง

การลงทะเบียนกับสำนักงาน FRO

โดยทั่วไปชาวต่างชาติที่จะเข้ามาพำนักในอินเดียเกินกว่า 6 เดือน ต้องไปรายงานตัวกับสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง (FRO: Foreigner’s Registration Office) ภายใน 14 วันหลังจากเข้าประเทศอินเดีย ทั้งนี้ สำนักงาน FRO ตั้งอยู่ประจำเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศอินเดีย ทำหน้าที่ดูแลการเข้ามาอาศัยในอินเดียของชาวต่างชาติ เช่น การลงทะเบียนเข้า/ออกเมือง และการขอต่ออายุวีซ่า เป็นต้น ชาวต่างชาติที่เข้ามาในอินเดียจะต้องกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ที่เว็บไซต์ของ FRO (http://indianfrro.gov.in/frro/) แล้วแนบด้วยเอกสารสำคัญตามแต่กรณี ดังนี้

การลงทะเบียนเข้าเมือง (Registration)

  • สำเนาหนังสือเดินทางและวีซ่า 2 ฉบับ
  • รูปถ่าย 2 ใบ
  • ใบรับรองจากสถานศึกษา (Bonafide Certificate )
  • Resident Proof หลักฐานแสดงการอยู่อาศัย ( สามารถขอแบบฟอร์มได้จากสำนักงาน FRO )
  • ICCR Letter จดหมายรับรองจาก ICCR ในกรณีที่ได้รับทุนการศึกษาจาก ICCR
  • ค่าธรรมเนียม 100 รูปี
    >>> เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารที่เรียกว่า Residential Permit ให้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการ เข้าพำนักอย่างถูกกฎหมายและใช้ในการขอลงทะเบียนออกเมือง หรือ Exit Permit (บางเมืองไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม เช่น เมืองปูเณ่ เป็นต้น)

การลงทะเบียนออกเมือง (Exit Permit)

  • สำเนาหนังสือเดินทางและวีซ่า 2 ฉบับ
  • รูปถ่าย 2 ใบ
  • Resident Proof
  • Residential Permit
    >>> เจ้าหน้าที่จะออกเอกสาร ที่เรียกว่า Exit Permit ให้ เพื่อเป็นหลักฐานในการออกเมือง

การขอต่อวีซ่า (Visa Extension)

  • สำเนาหนังสือเดินทางและวีซ่า 2 ฉบับ
  • รูปถ่าย 2 ใบ
  • ใบรับรองจากสถานศึกษา (Bonafide Certificate )
  • Resident Proof
  • Residential Permit
  • Bank Statement หรือ หลักฐานการชำระเงินกับสถานศึกษา
  • ICCR Letter ในกรณีได้รับทุนการศึกษาจาก ICCR
  • Student form number สามารถขอได้จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนักศึกษาต่างประเทศของสถานศึกษาที่กำลังศึกษา
  • เจ้าหน้าที่จะรับเอกสารคำขอต่อวีซ่าไว้ และจะนัดวันมารับวีซ่า โดยใช้เวลาประมาณ 10-20 วัน แล้วแต่กรณี
  • การขอต่อวีซ่าควรกระทำล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุที่ระบุในวีซ่า 2 เดือน

หมายเหตุ เอกสารที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเอกสารหลัก ๆ ที่ใช้ในการดำเนินการติดต่อกับสำนักงาน FRO ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง/เพิ่มเติม ตามแต่กรณี
เวลาทำการ FRO ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.00 – 17.00 น. เว้นวันหยุดราชการ
พักเที่ยงเวลา 13.00 – 14.00 น.

ที่พักในอินเดีย

ที่พักอาศัยในอินเดีย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ที่พักของเอกชน และที่พักภายในสถานศึกษา
ที่พักของเอกชน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
– Paying Guest accommodation (PG)
– Rental Room และ Independent Room
– Paying Guest accommodation (PG)

148

ลักษณะของ PG คือ การอยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกับเจ้าของบ้าน โดยเจ้าของบ้านจะแบ่งห้องให้เช่า ห้องละ 2 คนขึ้นไป ใช้ห้องนํ้าห้องครัวร่วมกัน เจ้าของ PG จะเลือกรับผู้อยู่อาศัย บางบ้านจะรับเฉพาะผู้หญิง หรือ เฉพาะผู้ที่จะมาพักเป็นครอบครัว หรือ จำกัดสาขาอาชีพ PG ส่วนใหญ่จะกำหนดเวลาเข้าออกของผู้พักอาศัย

 

ราคาเฉลี่ยของ PG เริ่มต้นที่ประมาณ 3,000 รูปีต่อคนต่อเดือน ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง และลักษณะของบ้าน บางบ้านจะรวมค่าอาหาร ค่านํ้า ค่าไฟ ส่วนบางบ้านจะแยกจ่ายค่านํ้า ค่าไฟ โดยจะเรียกเก็บค่าใช้จ่าย 2 เดือน/ครั้ง
Rental Room มี 2 ประเภท คือ แบบห้องเดี่ยว ( Single Room ) และห้องคู่ (Two Room Set) เป็นห้องที่มีลักษณะเป็นส่วนตัว มีห้องนํ้า ห้องครัวในตัว เจ้าของบ้านอาจจะอยู่หรือไม่อยู่ในบ้านเดียวกัน บางบ้านอาจมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเข้าออก หรือ เลือกรับผู้พักอาศัย ห้องเช่าลักษณะนี้ผู้พักอาศัยจะมีความเป็นส่วนตัวและอิสระมากกว่าที่พักแบบ PG แต่บ้านแบบ Rental Room มีน้อยกว่า ราคาเฉลี่ยของ Rental Room เริ่มต้นที่ประมาณ 6,000 รูปีต่อเดือน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง และลักษณะของบ้านอีกเช่นกัน สำหรับค่านํ้า ค่าไฟ จะมีการเก็บตามใบเสร็จ คือ 2 เดือน/ครั้ง
Independent Room คือ บ้านที่เจ้าของบ้านไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาเข้าออก หรือเลือกประเภทของผู้ที่จะมาพักอาศัย อาจจะเรียกได้ว่าเป็น PG ที่ไม่มีข้อจำกัด ผู้พักอาศัยมีความเป็นอิสระ โดยเจ้าของบ้านอาจจะอยู่หรือไม่อยู่ในบ้านเดียวกัน ราคาเฉลี่ยของ Independent Room เริ่มต้นที่ประมาณ 3,000 รูปีต่อห้อง ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง ค่านํ้า ค่าไฟ จะมีการเก็บแยก 2 เดือน/ครั้ง  ข้อตกลงการเช่า โดยทั่วไประยะเวลาของสัญญาเช่า คือ 11 เดือน และราคาค่าเช่าจะเพิ่มขึ้นปีละ10 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนด และการตกลงกับเจ้าของบ้าน

อย่างไรก็ตาม นักศึกษาในเมืองปูเณ่ นิยมเช่าหอพักเป็น Flat/Apartment ซึ่งมีช่วงราคาที่ค่อนข้างกว้าง คือตั้งเเต่ 5,000 รูปี ขึ้นไปจนถึงหลักหมื่น ซึ่งอาจได้เป็นอาคารสร้างใหม่ มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรืออาจเปน society ใหญ่ มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ คล้ายกับคอนโดหรืออพาร์ทเม้นในบ้านเรา เพียงแต่ความหรูหราอาจน้อยกว่า

นอกจากนี้ ในเมืองปูเณ่ นิยมเก็บค่าเช่ารายเดือน ค่าน้ำฟรี ค่าไฟอาจจ่ายแยกหรือเหมาจ่ายกับเจ้าของบ้านโดยตรงแล้วแต่สัญญาและการตกลงกัน มีการหักค่าบำรุงดูแลรักษาอาคาร (MAINTENANCE) ซึ่งก็อาจรวมอยู่ในค่าเช่าแล้ว หรือไม่รวม ส่วนค่ามัดจำอยู่ที่ 10,000 -35,000 รูปีโดยเฉลี่ย

วิธีการหาที่พัก

นอกจากจะสามารถหาได้ด้วยตัวเองโดยสังเกตป้ายที่เขียนติดไว้ที่หน้าบ้านว่า To Let (ที่ปูเณ่ใช้อังกฤษอมเริกันว่า For rent ) แล้ว ยังสามารถค้นหาได้จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทั่วไป หรือ การใช้บริการหาที่พักจากตัวแทนที่เรียกว่า To-Let Service คือการจ้างให้ตัวแทนหาที่พักในแบบที่เราต้องการให้

ที่พักภายในสถานศึกษา สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ประสงค์จะพักในหอพักของสถานศึกษาจะมีราคาตํ่ากว่าที่พักเอกชนนอกสถานศึกษา โดยเฉลี่ยราคาของหอพักในมหาวิทยาลัยอยู่ที่ประมาณ 1,200 รูปี ต่อ 3 เดือน () รวมค่านํ้า ค่าไฟ แต่ไม่รวมค่าอาหาร ส่วนหอพักของสถานศึกษาเอกชนจะมีราคาสูงกว่าหอพักของสถานศึกษาของรัฐ

อีกช่องทางหนึ่งคือการค้นหาจากเว็บไซต์ที่รวบรวมผู้ซื้อ ผู้ขาย และปล่อยให้เช่า แต่ข้อเสียคือผู้ลงประกาศนั้นส่วนใหญ่เป็นนายหน้า โดยนายหน้าหนึ่งคนมักจะมีที่พักหลายแหล่ง สามารถพาเราไปดูที่ถูกใจได้ แต่มักเรียกค่านายหน้าเป็นค่าเช่าอย่างน้อย 1-2 เดือน ดังนั้น เมื่อเห็นประกาศ อาจลองโทรถามว่าเป็นนายหน้าหรือเจ้าของบ้าน บางเว็บไซต์มีการระบุที่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น โดยเว็บดังกล่าวได้แก่

https://grabhouse.com

http://www.nobroker.in

https://housing.com

http://www.99acres.com/

ถ้าต้องการย้ายสถานที่เรียนไปต่างรัฐต้องทำอย่างไร

ผู้สมัครต้องทำการขอเอกสารใบส่งตัวนักศึกษา (Migration Certificate) ในกรณีที่ย้ายสถานศึกษาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งจะออกให้โดยสถานศึกษาที่สำเร็จการศึกษา

“หลัง” สำเร็จการศึกษา ก่อนออกจากอินเดีย ต้องทำอย่างไร

  • เข้าเว็บไซต์ http://indianfrro.gov.in/frro/ แล้วกรอกใบ Exit Permit หรือ ใบอนุญาตออกนอกประเทศ ในระบบออนไลน์ ทั้งนี้ ก่อนจะพิมพ์เอกสารออกมาเพื่อนำไปยื่นที่ FRRO ผู้สมัครต้องอัพโหลดเอกสารประกอบต่าง ๆ เข้าไปในเว็บด้วย ดังนั้น จึงควรจะสแกนเอกสารต่าง ๆ ไว้เป็นไฟล์รูปภาพหรือไฟล์ pdf รวมถึงเอกสารสำคัญต่างๆควรสแกนทุกอย่างเก็บเอาไว้เพื่อสามารถนำมาใช้ได้สะดวก
  • หลังจากยื่นเอกสารในขั้นตอนของการทำ Exit Permit และพิมพ์เอกสารออกมาแล้ว ให้นำไปยื่นที่ FRRO ในเวลาทำการ เจ้าหน้าที่จึงจะออกเอกสารออกนอกประเทศให้
  • พิมพ์บัตรโดยสารเครื่องบินมาด้วย เพื่อนำไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สนามบิน หากไม่มีบัตรโดยสารเครื่องบินแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสนามบิน
  • ตรวจสอบน้ำหนักกระเป๋าและสัมภาระไม่ให้เกินน้ำหนักที่สายการบินกำหนดไว้ ถ้าเป็นสายการบิน low-cost (Indigo, Jet Airways, etc.) จะจำกัดน้ำหนักกระเป๋าได้เม่เกิน 20 กก. และอาจผ่อนผันให้ถึง25 กก. ทั้งนี้ สำหรับการบินในประเทศ สายการบินเหล่านี้จะจำกัดนํ้าหนักกระเป๋าไม่เกิน 15 กก. และสัมภาระที่ถือขึ้นเครื่องต้องมีนํ้าหนักไม่เกิน 7 กก.
  • เตรียมเอกสารสำคัญทุกอย่างไว้ให้เรียบร้อย บัตรโดยสารเครื่องบิน, Resident permit, Exit permit, Passport ควรพกปากกาติดตัวไปด้วยเผื่อไว้เขียนใบเข้าเมืองที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม)
  • ตรวจสอบเวลาเดินทางและควรเผื่อเวลารถติดไว้ด้วย และจะได้เป็นการไม่ฉุกละหุกเกินไป
  • วางแผนการใช้เงินให้เหลือเงินรูปี ในตอนขากลับด้วย เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในสนามบินสูงกว่าร้านข้างนอก
  • ตรวจสอบความปลอดภัยของทรัพย์สินและของมีค่าในห้องก่อนเดินทางกลับใส่กุญแจปิดห้องให้เรียบร้อย หากมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ให้นำไปฝากเพื่อน รถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ ควรล็อคและจอดให้มิดชิด

 

หมายเหตุ
ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นซึ่งรวบรวมโดย เครือข่ายนักเรียนไทยในอินเดีย เมื่อการประชุมฯครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกันยายน 2557 เพื่อช่วยในการตัดสินใจก่อนมาศึกษาเท่านั้น อาจมีความคลาดเคลื่อนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง ขอแนะนำให้ท่านติดต่อกับสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานนั้นๆโดยตรง เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

* * * * ** * * * *

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Thai Students in India Network – TSIN

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี

แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: