โอบามาถึงอินเดียแล้ว พร้อมร่วมงานวันชาติอินเดียวันนี้
บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐเดินทางถึงกรุงนิวเดลีเมื่อวันอาทิตย์ (25 มกราคม 2558) ในการเยือนอินเดีย 3 วัน ได้รับการสวมต้อนรับจากนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และสวมกอดที่สนามบินในกรุงนิวเดลี เป็นสัญญาณถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 ชาติ ก่อนจะเดินทางไปยังทำเนียบประธานาธิบดีอินเดียเพื่อเข้าสู่พิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ

นายโอบามาและนายโมดี สวมกอดกันอย่างเป็นมิตร (ภาพ: REUTERS)
ในวันนี้ (26 มกราคม 2558) โอบามาจะเป็นแขกกิตติมศักดิ์ในงานฉลองวันชาติอินเดีย หรือวันที่ได้รับการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐ ตำรวจอินเดียหลายพันนายออกตรวจตราบริเวณประตูชัยอินเดียและถนนราชภัฏ ซึ่งจะมีการเดินพาเหรด พร้อมติดกล้องวงจรปิด 15,000 ตัว และยกระดับการรักษาความปลอดภัยบริเวณโรงแรมที่ผู้นำสหรัฐและทีมงานเข้าพัก โอบามาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่เดินทางเยือนอินเดียครั้งที่ 2 ริชาร์ด เวอร์มา เอกอัครราชทูตสหรัฐคนใหม่ประจำอินเดียกล่าวว่า ช่วงเวลานี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐและอินเดีย กำหนดเดิมโอบามาจะไปเยือนทัชมาฮัลด้วย แต่ต้องยกเลิกเนื่องจากต้องเดินทางต่อไปยังซาอุดีอาระเบียเพื่อเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ซัลแมน และแสดงความเสียใจกับการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อับดุลเลาะห์.

โอบามาตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ (ภาพ: AP Photo)
ตัวแทนผู้นำทางธุรกิจของสหรัฐร่วมเดินทางมากับโอบามาด้วย เพื่อมาเจรจาด้านการค้ากับอินเดีย ระหว่างเยือนอินเดีย โอบามาจะเจรจากับโมดีในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ, พลังงานนิวเคลียร์, เรื่องอัฟกานิสถาน, ความกังวลเรื่องความมั่นคงในเอเชียใต้โดยเฉพาะความขัดแย้งที่มีกับจีนและมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายในการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองต่อกัน และปรับปรุงสนธิสัญญาความร่วมมือด้านการทหาร
เบน โรดส์ ที่ปรึกษาของโอบามากล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและพลังงานสะอาดเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกที่จะมีการพูดคุยกัน เพราะข้อตกลงเรื่องสภาพอากาศนานาชาติจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนปริมาณมากเข้าร่วมด้วย
โมดีเชิญให้โอบามาโทรศัพท์เข้ามาในรายการที่เขาพูดคุยกับประชาชนประจำเดือน เพื่อสื่อถึงชาวอินเดียหลายล้านคนในพื้นที่ซึ่งสัญญาณโทรทัศน์เข้าไม่ถึง

นายโอบามาและนายโมดี พูดคุยกันระหว่างดื่มชาและกาแฟในสวนของไฮเดอราบัด เฮาส์ (ภาพ: AP Photo)
ประเด็นที่ได้รับการจับตามองที่สุดในการเยือนอินเดียของนายโอบามาในครั้งนี้คือเรื่อง ข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งทำให้อินเดียสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนิวเคลียร์สำหรับฝ่ายพลเรือน แต่ต้องล่าช้ามาตลอดตั้งแต่ลงนามข้อตกลงทวิภาคีเบื้องต้นเมื่อปี 2008 เนื่องสหรัฐฯกังวลเรื่องความเข้มงวดของกฎหมายอินเดียในเรื่องความรับผิดชอบหนี้สินกรณีเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์
ในการแถลงข่าวร่วมกันที่ ‘ไฮเดอราบัด เฮาส์’หลังจากผู้ทำทั้งสองได้หารือกันเป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมง นายโมดีระบุว่า เขารู้สึกยินดีมากที่ 6 ปีหลังจากอินเดียและสหรัฐฯลงนามข้อตกลงทวิภาคี ในที่สุดพวกเขาก็ได้ก้าวไปข้างหน้าสู่ความร่วมมือทางการค้า ที่สอดคล้องกับกฎหมายของทั้ง 2 ประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชล โบบามา ยังร่วมเดินทางมาด้วย ในชุดสีัฟ้าสดใส ออกแบบโดยนักออกแบบเสื้อผ้าชาวอินเดีย Bibhu Mohapatra นอกจากนี้ บรรดาช่างทอผ้าในเมืองพาราณสีของอินเดีย เตรียมนำชุดส่าหรีสุดหรู 100 ชุด ไปให้สุภาพสตรีหมายเลข 1 เลือกตามใจชอบ เพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับการเดินทางเยือนอินเดีย พร้อมกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา โดยชุดส่าหรีเหล่านี้ รวมถึงชุดที่นำทองคำ และเงินบริสุทธิ์มาทอเป็นผ้า ซึ่งใช้เวลาในการทอร่วม 2 เดือน ทั้งนี้ เมืองพาราณสีของอินเดีย มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานถึงการทำผลิตภัณฑ์ผ้าไหมคุณภาพสูง ที่บางชิ้นสามารถนำออกจำหน่ายในราคาสูงถึง 10,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว
ขอขอบคุณข่าวจาก
http://www.thaipost.net/news/260115/102142
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20150125/630794/อินเดียมอบส่าหรีสุดหรูให้มิเชล-โอบามา.html
http://www.thairath.co.th/content/477061
http://abcnews.go.com/Politics/michelle-obama-india-buzzing-outfit/story?id=28461623
แสดงความคิดเห็น