Updates

หลักสูตรการศึกษาในอินเดีย มีแบบไหนบ้าง (2)

หลังจากที่เราได้นำเสนอ หลักสูตรการศึกษาในอินเดีย มีแบบไหนบ้าง (1) มาต่อกันที่ 3 หลักสูตรที่เหลือกันเลยดีกว่าครับ

3.   PUC (Pre-University College หรือ Junior College) หลักสูตร PUC (Pre-University College หรือ Junior College) เป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนดขึ้นมา โดยมีคณะกรรมการ PUC ประจำรัฐนั้น ๆ เป็นผู้ควบคุม การเรียนการสอนจะรับเฉพาะนักเรียนเกรด 11 และ 12 หรือ ม.5 และ ม.6 เท่านั้น โดยแบ่งการเรียนออกเป็น 3 สายคือ สาย Science, Commerce และ Arts ซึ่งทั้ง 3 สายจะบังคับเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษารอง และวิชาที่ต้องเรียนในแต่ละสาย

จุดเด่น การเลือกเรียนหลักสูตรนี้จะมีผลสะท้อนว่าในระดับปริญญาตรีผู้เลือกจะต้องเรียนคณะอะไรต่อไป การเรียนในระบบนี้ต้องมีความรับผิดชอบสูงเพราะการควบคุมดูแลคล้ายระบบมหาวิทยาลัย การเข้าห้องเรียนต้องไม่ต่ำกว่า 75% – 85% ตามแต่สถาบันกำหนด

4. IGCSE (International General Certificate of Secondary Education) เป็นการสอบเพื่อรับรองคุณวุฒิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (อายุ 15-16 ปี) ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ นักเรียนในโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการศึกษาแบบอังกฤษจะได้เรียนเนื้อหาที่ปรากฏในข้อสอบ IGCSE ใน Year 10 และ Year 11 ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานและเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับ AS Level และ A2 Level ใน Year 12 และ Year 13 ต่อไป  IGCSE มีการออกแบบเนื้อหารายวิชาที่เป็นสากล โดยมีเป้าหมายในการกำหนดมาตรฐานทางวิชาการในระดับสูงผ่านการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติ หลักสูตร IGCSE ครอบคลุม 5 กลุ่มเนื้อหารายวิชา ดังนี้ 1) ภาษา 2) ศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) คณิตศาสตร์ 5) ความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคและวิชาชีพ 

5. International Baccalaureate (IB) ก่อตั้งขึ้นโดย International Baccalaureate Organisation (IBO) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มีที่ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ หลักสูตรของ IB ถูกแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่

PYP: The Primary Years Programme (Kindergarten to Class 5).

MYP: The Middle Years Programme (Class 6 to Class 10).

DP: The Diploma Programme (Class 11 to Class 12).

หลักสูตรของ IB เป็นหลักสูตรสากล เน้นไปในด้านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและการประยุกต์มากกว่าการเรียนรู้จากตำรา นักเรียนจะต้องมีการสอบวัดผล 2 ครั้งตอนเกรด 10 และ 12 เช่นเดียวกับ CISCE และ CBSEหลักสูตร IB จะเข้มข้นในช่วง DP ซึ่งนอกจากจะต้องเรียน 6 วิชาหลักแล้ว นักเรียนต้องทำรายงานพิเศษในช่วงเวลา 2 ปี ได้แก่ TOK, EE and CAS

  • TOK หรือ Theory of Knowledge จะเป็นการเขียนเรียงความตามหัวข้อที่ให้ มีความยาว 1,200 – 1,600 คำ และจะต้องนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • EE หรือ Extended Essay จะเป็นการเขียนเรียงตามหัวข้อที่นักเรียนเลือกเอง มีความยาว 3,500 – 4,000 คำ
  • CAS หรือ Creative Action and Service เป็นโปรแกรมภาคบังคับให้เด็กนักเรียนทำประโยชน์ต่อสังคม ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ และร่วมกิจกรรมทางด้านกีฬา ทั้งหมดรวม 150 ชั่วโมง

เมื่อเรียนจบ DP แล้วเด็กนักเรียนจะมีวุฒิทางการศึกษาเทียบเท่า 10+2 สามารถนำผลการสอบบอร์ดไปสมัครเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ ในกรณีที่นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระบบอื่นแล้วอยากเรียนต่อระบบ IB สามารถย้ายเข้าเรียนหลังจากจบเกรด10 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชั้นนำเป็นจำนวนมากในหลายประเทศเปิดรับเด็กนักเรียนที่จบหลักสูตร IB และบางมหาวิทยาลัยยังมีทุนการศึกษาเพื่อเด็กนักเรียน IB โดยเฉพาะอีกด้วย

ฉะนั้นก่อนที่ผู้ปกครองจะนำบุตรหลานมาเรียนต่อที่อินเดียนั้นนอกจากจะต้องเลือกโรงเรียนที่ดีแล้ว ผู้ปกครองก็ควรที่จะศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาที่มีให้เลือกมากมาย ซึ่งควรจะเลือกให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียนและความสนใจในด้านต่างๆ ของเขา

แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: