Updates

ความหลากหลายของป้ายทะเบียนรถ (Number Plate) ในอินเดีย

พวกเราเคยชินแต่กับป้ายทะเบียนรถแบบมาตรฐานที่ออกให้โดยกรมการขนส่งในบ้านเรา ที่เป็นแบบเดียวกันทั่วทั้งประเทศ พอมาเจอที่อินเดีย งงเป๊ก! มีสารพัดรูปแบบละลานตา และสารพัดขนาด เพราะทางขนส่งที่อินเดียคงไม่สามารถรับผิดชอบทำให้กับพลเมืองจำนวนมากขนาดนี้ได้

ป้ายทะเบียนรถ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียก number plate หรือ license plate หรือ license tag ที่ออกให้โดยสำนักงานขนส่งระดับภูมิภาค (Regional Transport Office – RTO) ของแต่ละรัฐ แปะไว้ทั้งด้านหน้าและหลังของรถทุกประเภท

Indian_plate_formatA – ถ้าเป็นรถส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ จะเป็นตัวหนังสือสีดำ บนป้ายทะเบียนสีขาว

B – รถสาธารณะ รถบรรทุก หรือรถแท็กซี่ ใช้ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวหนังสือสีดำ

C – รถให้เช่า (ผู้เช่าขับเอง) ป้ายทะเบียนสีดำ ตัวหนังสือสีขาว

D – รถของเจ้าหน้าที่กงสุล/สถานทูตต่างประเทศ เป็นป่ายทะเบียนสีฟ้า ตัวหนังสือสีขาว

ในขณะที่รถของประธานาธิบดีผู้ดำอินเดีย จะไม่มีเลขป้ายทะเบียนนแต่จะใช้ตราแผ่นดิน หรือตราสัญลักษณ์ประจำชาติ (รูปสิงโตสี่ตัวหันหลังชนกันอยู่บนยอดเสา) นูนทองบนป้ายทะเบียนสีแดง

ทั้งนี้ ทางสำนักงานขนส่งภูมิภาคจะรันให้เฉพาะหมายเลขเท่านั้น ส่วนตัวป้ายต้องไปจัดซื้อหรือจ้างทำเอาเอง จึงทำให้ป้ายที่ออกมาละลานตาน่าดู

Plate making

ชายอินเดียกำลังใช้สีอคริลิคเขียนป้ายทะเบียนอย่างจดจ่อ (Image source)

แต่สำหรับรถรุ่นใหม่ ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา ทางรัฐบาลอินเดียได้กำหนดการจัดทำป้ายทะเบียนแบบมาตรฐานขึ้น ซึ่งจะระบุว่าพาหนะคันนี้มาจากที่ใดบ้าง เช่น “MH-02″ หมายถึง Mumbai West เป็นต้น

as_indi_gi1

  • ส่วนแรก เป็นตัวอักษรละติน 2 ตัว เป็นอักษรย่อของชื่อของรัฐที่ยานพาหนะถูกลงทะเบียน
  • ส่วนที่สอง เป็นตัวเลข  2 หลัก เป็นรหัสของอำเภอต่างๆ
  • ส่วนที่สาม เป็นตัวเลขมี 4 หลัก เป็นเลขลำดับเฉพาะของรถแต่ละคัน ซึ่งหากรันเลขจนหมดแล้ว ก็จะมาเริ่มนับเลขใหม่ โดยใช้ตัวอักษรละตินเพิ่มทีละตัว เช่น A 0754 , AA 0754
  • และส่วนที่สี่ คือสัญลักษณ์ที่มีตัวอักษร IND ซึ่งย่อจาก India โดยส่วนนี้ไม่ใช่ว่าจะมีทุกคัน รายละเอียดเพิ่มเตอมโปรดอ่าน ‘List of international vehicle registration codes’ และมีภาพจักระ (Chakra)แบบสามมิติติดอยู่เหนือตัวหนังสือ

นอกจากนี้บางเขตพื้นที่ เช่น เมืองหลวงกรุงนิวเดลี ยังมีการระบบที่เฉพาะเจาะจงกับป้ายทะเบียนลงไปอีก มีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ระบุประเภทรถ คือ S สำหรับรถจักรfor two-wheelers, C for cars and SUVs, E for electric vehicles (in some cases only), P for public passenger vehicles such as buses, R for three-wheeled rickshaws, T for tourist-licensed vehicles and taxis, V for pick-up trucks and vans and Y for hire vehicles. This system is also applicable in other states. (For example, Rajasthan, where RJ is the two letter code, P is for passenger vehicles, C for cars, S for scooters and G for goods vehicles.)แต่ตามท้องถนนต่างๆ เราก็ยังคงพบเห็นป้ายทะเบี่ยนรถที่หลากหลายและไม่มีมาตรฐานอยู่ทั่วไป ด้วยความหลากหลายนี้ก็อาจจะสร้างปัญหาขึ้นได้ เนื่องจากความไม่ถูกต้องชัดเจนของตัวเลข รวมทั้งการปลอมป้ายทะเบียนก็ทำกันได้ง่ายๆ ทำให้ตำรวจของแต่ละรัฐต้องกำหนดรายละเอียดของป้ายที่ถูกต้องกำกับไว้อีกที

ใครที่มีรถขับขี่ในอินเดีย ศึกษาไว้ก็คงไม่เสียหลาย และความหลากหลายก็เป็นเรื่องปกติของอินเดียเขาล่ะ

 

ที่มา : http://indian-way-of-life.blogspot.in/2012/06/number-plate.html

แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: